หน้าหลัก > NLP > ความลับที่ 26 ของ NLP จัดการอย่างมีศิลป์กับคนที่เห็นต่าง
ความลับที่ 26 ของ NLP จัดการอย่างมีศิลป์กับคนที่เห็นต่าง
NLP
ความลับที่ 26 ของ NLP จัดการอย่างมีศิลป์กับคนที่เห็นต่าง
20 Sep, 2019 / By coachwanchai
Images/Blog/96wezm3j-NLP-Banner4234.jpg


คุณเคยพบเจอคนที่จับผิดสิ่งที่คุณพูดไปเสียทุกเรื่องมั้ย?
เขาจะขัดคอ หยิบยกบางสิ่งมาถกเถียงหรือไม่เห็นด้วยกับทุกเรื่องจนได้ คนแบบนี้ เป็นคนแบบ "จับความต่าง" ได้ง่าย (Mismatcher)

 

ในทางตรงกันข้าม จะมีคนชนิดที่ "จับความเหมือน" ได้ง่าย และคนแบบหลังคือคนที่เห็นเหมือนได้ง่าย (Matcher)


เวลาที่คุณจะหาทางเชื่อมโยงกับใครก็ตามเพื่อสร้างสายสัมพันธ์หรือความเป็นมิตรกับเขานั้น คุณต้องพยายามจับความเหมือนกับเขาให้ได้ แล้วมันจะง่ายขึ้นที่เขาจะไว้ใจคุณ
.
.
แต่ถ้าคุณไปพบใครที่จูนเข้ากันไม่ได้
แสดงว่ามันจะต้องมีบางอย่างที่ผิดฝาผิดตัว
คือมันไม่ได้อยู่ในคลื่นเดียวกัน
แต่ใช่ว่าเขาไม่มีประโยชน์อะไรเลยกับคุณ
และการที่คุณจะจูงใจเขาได้
ย่อมต้องการศิลปะในการจัดการอีกแบบหนึ่ง
.
.
การจูงใจคนที่เห็นต่างจากคุณ :
เพราะว่าคนแบบนี้สามารถเห็นต่างและคิดต่างจากคุณ
เขาเก่งที่จะจดจ่อกับสิ่งที่ต่างออกไป
เขาสังเกตเห็นสิ่งที่จะไม่สนับสนุนสิ่งที่คุณได้พูดหรือจะทำ
.
.
ดังนั้น ถ้าคุณจะจูงใจเขา
คุณอาจต้องกลับทิศทางการพูดของคุณ เช่น
“คุณคงจะไม่เชื่อหรอกว่าวิธีใหม่นี้มีประสิทธิภาพมากๆ”

หรือถ้าเขาสุดโต่งมากๆ คุณอาจแนะนำไปว่า
“เชื่อผมเถอะ อย่าทำอย่างนั้น”

การที่คุณใช้สำนวนปฏิเสธหรือแนะว่าอย่าไปทำอะไร
ซึ่งตรงข้ามกับความตั้งใจของคุณ กลับกลายเป็นว่า
“ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ”
เขาเลยทำมันซึ่งตรงเป๊ะกับสิ่งที่คุณต้องการ ทำไมน่ะหรือ
ก็เขาอยากทำตรงข้ามกับสิ่งที่คุณเพิ่งพูดออกไปนั่นเอง
.
.
ฉะนั้น สัญชาตญาณแรกของเขาก็คือ
“งั้นฉันจะเชื่อ” และ “งั้นฉันจะทำมัน”
ฉะนั้น แทนที่คุณจะหาหนทางไปเอาชนะเขาตรงๆ
จงยินยอมให้เขาได้ไม่เห็นด้วยกับคุณเถอะ
เพราะว่ามันจะเข้าทางคุณเองเมื่อคุณกล่อมเขาอย่างมีศิลป์
.
.
ถ้าคุณเข้าไปยุ่งกับคนที่เห็นต่างแบบอ่อนๆ
คุณสามารถจูงใจเขาโดยพูดว่า
“คุณอาจพบว่าส่วนใหญ่ของเรื่องนี้ก็เหมือนเดิมกับสิ่งที่คุณได้ทำมาก่อนแล้ว แต่ถ้าจะมีต่างออกไปก็คงนิดหน่อยเองซึ่งอาจจะทำให้คุณอยากทำมันก็ได้”
การพูดแบบนี้นับว่ามีศิลป์และจูงใจเขาได้

ในการทำงาน ใช่ว่าคนที่เห็นต่างจะไร้ประโยชน์
สมมติว่าคุณทราบนิสัยใจคอของลูกน้องคุณดี
คุณสามารถจัดการประชุมเพื่อระดมสมองโดยกันเขาออกไว้ก่อน
เพราะขืนให้ร่วมระดมสมองคงเป็นตัวป่วน
ที่ทำให้คนที่เหลือกลั่นไอเดียออกมาไม่ได้
เพราะว่าเขาคงเห็นต่างไปเรื่อยว่ามันไม่เวิร์คหรอก
หลังจากระดมสมองจนได้ไอเดียจำนวนหนึ่งเสร็จแล้ว
คุณสามารถนำไอเดียพวกนั้นไปให้เขาอ่านดู
แล้วดูสิว่าเขาจะเห็นต่างอย่างไร
เพราะมันอาจเป็นข้อมูลที่ล้ำค่าที่คุณมองข้ามไป
หรือนึกไม่ถึงก็ได้
.
.
เขาจึงเปรียบเสมือนคนที่จะตรวจสอบที่ดีให้กับคุณอีกชั้น
เพราะถึงยังไงก็ตาม สุดท้ายแล้ว
คุณก็คงจะตัดสินใจได้ว่าข้อคิดของเขา
สมควรใช้และน่าเชื่อถือหรือไม่นั่นเอง.
.
.
ฉะนั้น จงรู้ว่าใครเป็นใครในทีมของคุณโดยถามว่า
“เมื่อคุณเริ่มงานชิ้นใหม่ คุณสังเกตเห็นอะไรก่อนเป็นสิ่งแรก
ระหว่างความเหมือนกับความต่าง”
คำตอบของเขาย่อมทำให้คุณพอจะแยกแยะได้
.
.
คนที่เห็นเหมือน หรือจับความเหมือนได้ง่าย(matcher)
และคนเห็นต่างหรือจับความต่างได้ง่าย (mismatcher)
เป็นความโน้มเอียงตามธรรมชาติในจิตใต้สำนึกของเขาเอง
ไม่มีใครแกล้งหรือจงใจจะเป็นคนในแบบใดๆ
คิดดูสิ ถ้าในองค์กรหนึ่งๆ มีแต่คนที่คิดเหมือนกันหมด
โดยไม่มีคนที่คิดต่างเลย เวลาประชุมเรื่องอะไร
ก็จะเห็นพ้องกันหมด ไม่มีใครค้าน
แล้วถ้าวิสัยทัศน์นั้นมันผิดพลาด
นั่นมิเท่ากับเดินหน้าไปสู่ความหายนะ
โดยไม่มีใครคอยเตือนหรือห้ามปรามเลยหรือ
.
.
ฉะนั้น คนที่คิดต่างย่อมสำคัญเช่นกัน
จงมอบบทบาทให้คนเห็นต่างได้สังเกตสิ่งที่แตกต่างออกไป
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับธุรกิจหรือชีวิตรอบด้านของคุณครับ

.
.

ด้วยรัก,
อาจารย์ วันชัย ประชาเรืองวิทย์
The Best NLP Trainer of Thailand

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.