หน้าหลัก > NLP > ความลับที่ 22 ของ NLP รู้ว่าอะไรโน้มน้าวใจคนได้
ความลับที่ 22 ของ NLP รู้ว่าอะไรโน้มน้าวใจคนได้
NLP
ความลับที่ 22 ของ NLP รู้ว่าอะไรโน้มน้าวใจคนได้
20 Sep, 2019 / By coachwanchai
Images/Blog/QX4R0pTl-NLP-Banner4230.jpg

ความลับที่ 22 ของ NLP รู้ว่าอะไรโน้มน้าวใจคนได้
คนเราทุกคนจะถูกโน้มน้าวด้วยวิธีที่แตกต่างกัน มันเป็นอีกความหมายหนึ่งของการจูงใจคนเพื่อให้คนอื่นๆ ทำในสิ่งที่ผู้โน้มน้าวต้องการ การโน้มน้าวจะส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคน คำว่า “อิทธิพล” ไม่ได้มีความหมายในเชิงลบ แต่มันหมายถึงการสร้างผลกระทบทางอ้อมให้คนเราตัดสินใจทำบางสิ่ง ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปแล้วคุณไม่สามารถไปบังคับใจคนอื่นตรงๆให้ทำในสิ่งที่เขาจะไม่ทำได้
.
.
เช่น ถ้าคุณเป็นนักขาย คุณบังคับให้ลูกค้าซื้อของไม่ได้
แต่คุณบังคับทางอ้อมอย่างเนียนๆ ได้
นั่นคือการสร้างอิทธิพล
และทั้งวิธีจูงใจและการโน้มน้าวใจ
ต้องเหมาะหรือตรงกับแต่ละบุคคล
มันจะเพิ่มโอกาสในความสำเร็จที่เขาจะทำในสิ่งที่คุณต้องการ
นี่จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมกันเลย
.
.
การโฆษณาจากทุกสื่อ
พยายามที่สุดที่จะโน้มน้าวใจให้ผู้คนที่เห็น
หรือได้ยินมันซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น
เวลาที่คุณไปเดินห้าง ทุกสิ่งที่ร้างค้าจัดวางสินค้า
ทุกข้อความที่ติดอยู่ มันกำลังโน้มน้าวใจคุณ
แต่ว่ามันจะสำเร็จหรือเปล่า นั่นคือเนื้อหาที่เราจะคุยกันต่อไป
.
.
และเพื่อความสำเร็จในชีวิตรอบด้านของคุณ
คุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะโน้มน้าวใจคนอื่นๆ ให้เก่งขึ้นด้วย
เพราะว่ามันหมายถึงการเซย์เยส (ตกลง) หรือเซย์โน (ไม่ตกลง)
คนเราแต่ละคนถูกโน้มน้าวใจได้ด้วยวิธีที่ต่างกัน
แล้วมันเป็นเพราะอะไรเล่า?
คำตอบก็คือ ภายในสมองของเรา (หรือจิตใต้สำนึก)
.
.
คนเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า “ตัวกรองการโน้มน้าวใจ”
ซึ่งแปลว่าถ้าการโน้มน้าวใจที่กำลังเกิดขึ้นกับเขาตรง
กับวิธีของเขาหรือไม่
.
.
ถ้าไม่ตรงสมองจะกรองการโน้มน้าวนั้นทิ้งไป
หรือ การโน้มน้าวใจนั้นผ่านเข้าไปในสมองของเขาไม่ได้
แต่ถ้าการโน้มน้าวใจนั้นมันตรงกับวิธีที่เขาชอบหรือยอมรับ
มันก็จะผ่านตัวกรองเข้าสู่สมองได้

***นี่คือสิ่งที่คนทั่วๆ ไปไม่เคยรู้ แต่นักโฆษณาจะรู้

ฉะนั้น เขาจะพยายามที่สุด
ที่จะออกแบบให้การโฆษณาของเขาผ่านตัวกรองของผู้คน
เข้าไปให้ได้ นั่นแปลว่า
คนดูโฆษณาจะรู้สึกว่ามัน “ใช่” หรือมัน “จริง”
นั่นสร้างโอกาสที่คนดูจะไปซื้อเป็นอย่างมาก
เพราะว่ามันได้ขายไอเดียของมันให้กับผู้เห็นมันสำเร็จแล้ว

เมื่อมีคนทำสิ่งบางสิ่งในลักษณะที่ตรงกับวิธีโน้มน้าวใจของตัวคุณ
คือมันผ่านตัวกรองการโน้มน้าวใจของคุณเข้าไปได้
(วิธีที่ไม่ตรงจะผ่านเข้าไปไม่ได้)
คุณจะรู้สึกเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เขากล่าวมันจริง
จากนั้น เขาก็จะจูงใจคุณได้โดยง่าย

เวลาที่นักขายของหรือไอเดียอะไรก็ตาม
ให้กับคุณแล้วคุณซื้อมัน
คุณอาจคิดว่าทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องของการคิดอย่างเป็นตรรกะ
หรือเหตุผลเท่านั้น แต่ที่จริงมันเกิดขึ้นเพราะว่า
มันตรงกับวิธีโน้มน้าวใจในสมองของคุณ
.
.
เคน แบลนชาร์ด สอนไว้ว่า
“กุญแจที่ไขสู่ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
ไม่ใช่การใช้อำนาจ แต่คือการสร้างอิทธิพล”
.
.

ซึ่งคำกล่าวนี้มีความลึกซึ้ง เพราะยังหมายความว่า
ผู้นำที่เก่งกาจต้องโน้มน้าวใจคนได้อย่างยอดเยี่ยมนั่นเอง
ลองหลับตานึกภาพว่าคุณกำลังจะขายไอเดียของสินค้าใหม่
คุณก็ต้องค้นหาว่าอะไรจะโน้มน้าวใจพวกเขาได้ จงถามพวกเขาว่า
.
.

• มันต้องทำยังไง แล้วคุณจะรู้สึกว่าไอเดียนี้ดี?
คำถามแบบนี้เนียนมาก ที่จริงมันเท่ากับคุณไปถามเขาว่า
“กรุณาบอกผมหน่อยได้ไหม
ว่าผมต้องทำยังไงแล้วมันจะโน้มน้าวใจคุณได้ว่าไอเดียนี้มันดีสำหรับคุณ”
ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องถามจนโจ่งแจ้งอย่างนั้นเลย
เมื่อคุณถามเขาว่า “มันต้องทำยังไง แล้วคุณจะรู้สึกว่าไอเดียนี้ดี?”
จากนั้นก็ตั้งใจฟังคำตอบจากเขา
เพราะคำตอบที่ได้ก็คือสิ่งที่เข้ากับวิธีโน้มน้าวใจในสมองของเขานั่นเอง
.
.

• “กับสินค้าตัวนี้ คุณต้องการจะเห็นเนื้อหาเพิ่มเติมของมันไหมครับ”
หรือ “คุณอยากได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมไหมครับ”
หรือ “คุณอยากจะลองดูก่อนด้วยตนเองไหมครับ”
เมื่อคุณถามคำถามไปแล้ว
คำตอบที่เขาให้กลับมามักตรงกับวิธีที่จะสามารถโน้มน้าวใจของเขาได้นั่นเอง
.
.

คนส่วนใหญ่มันถูกโน้มน้าวใจได้
เมื่อได้รับข้อมูลซ้ำในจำนวนครั้งที่แน่นอน (มักจะ 3 ครั้ง)
หรือความนานของช่วงเวลาหนึ่ง
ฉะนั้นถ้าคุณจะกล่อมเขาได้สำเร็จ
บางทีคุณอาจต้องชักชวนเขาสักสามสี่ครั้งก็เป็นได้
ผมยังจำได้ว่าตอนที่ผมไปออกกำลังกายที่ฟิตเนส
เซ็นเตอร์แห่งหนึ่ง มีเทรนเนอร์หนุ่มคนหนึ่ง
พยายามโน้มน้าวใจผมให้ซื้อคอร์สกับเขา
ผมปฏิเสธไป พอผ่านไปสักระยะ เขาก็กลับมาชวนอีก
เขาทำแบบนั้นมากกว่า 3 ครั้ง และพูดตามตรง ผมแทบใจอ่อน
ทั้งๆ ที่ผมต้องการปฏิเสธอย่างมั่นคง

ผมไม่สงสัยเลยว่าทำไมเขามีลูกค้าเยอะ
หรือกับบางคน มันอาจกินเวลาหลายเดือนกว่า
คุณจะกล่อมหรือโน้มน้าวใจเขาสำเร็จ
เพราะฉะนั้น อย่าท้อไปเสียก่อน
และที่น่าแปลกใจก็คือ
มีคนบางคนที่ถูกโน้มน้าวได้ง่ายมาก
คุณไม่ต้องโน้มน้าวอะไรเลยแต่เขาก็ซื้อดื้อๆ เลยก็ยังมี
ถ้าคุณพบคนแบบนั้นก็สบายไป
.
.
ใน NLP คนเราจะถนัดกับประสาทการรับรู้หนึ่งเป็นพิเศษ
ได้แก่ การมองเห็น (Visual)
หรือการได้ยินได้ฟัง (Auditory)
หรือความรู้สึกสัมผัส (Kinesthetic)
ฉะนั้น การโน้มน้าวย่อมขึ้นกับว่าข้อมูลมาในรูปแบบใด
คือโดยการทำให้เห็น ได้ยิน หรือสัมผัส
ฉะนั้น เมื่อคุณรู้ว่าเขาถนัดแบบไหน
คุณก็ต้องแสดงข้อมูลให้ตรงกับความถนัดของเขา
เพิ่มโอกาสการโน้มน้าวใจที่ประสบความสำเร็จ
.
.
จงแยกแยะให้ได้ว่าทั้งตัวคุณเองและคนอื่นๆ ต้องถูกชักชวนกี่ครั้ง
หรือใช้ช่วงเวลายาวนานสักเท่าไหร่
(กี่วันหรือกี่เดือนหรือกระทั่งกี่ปี)
ก่อนที่คุณจะถูกโน้มน้าวใจสำเร็จ
แล้วคุณจะได้ประโยชน์มากจากการรู้นี้
และถ้าบังเอิญคุณไปเจอะเจอใครที่มันหินชาติสุดๆ
คือ ไม่มีวิธีไหนแลยที่จะสามารถกล่อมหรือโน้มน้าวใจเขาได้
งั้นจงบอกเขาว่า
.
.

“ผมรู้ว่าไม่มีอะไรโน้มน้าวใจของคุณได้
จนกว่าคุณจะคิดออกเองว่าสิ่งนี้มันดึงดูดใจคุณ”

เขาจะตอบสนองต่อคุณในทางที่เป็นบวกมากขึ้น
นั่นเท่ากับว่าคุณได้โน้มน้าวใจของเขาแล้ว!

และเมื่อคุณอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้...
อยากให้แฟนเพจแสดงตัวตนหน่อยครับ..
เพื่อเป็นกำลังใจให้ผม..โพสต์บทความต่อๆไป
โดยการพิมพ์คำว่า...
---------------------------------------
"ฉันรักตัวเอง และคู่ควรกับสิ่งดีๆที่เข้ามาในชีวิต"
---------------------------------------
.
.
ด้วยรัก,
อาจารย์ วันชัย ประชาเรืองวิทย์
The Best NLP Trainer of Thailand

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.