หน้าหลัก > NLP > ความลับ ที่ 31ของ NLP เปลี่ยนกรอบ (Change the Frame)
ความลับ ที่ 31ของ NLP เปลี่ยนกรอบ (Change the Frame)
NLP
ความลับ ที่ 31ของ NLP เปลี่ยนกรอบ (Change the Frame)
20 Sep, 2019 / By coachwanchai
Images/Blog/Voa16hF4-NLP-Banner4239.jpg

 

NLP มีความเชื่อที่สำคัญมากอยู่อย่างหนึ่ง กล่าวคือ “ความหมายทั้งหลายจะขึ้นกับบริบท” เมื่อคุณอ่านมันครั้งแรก...โปรดใจเย็น ถ้าคุณยังจับสาระของมันไม่ได้ อีกสักครู่คุณจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก่อนอื่นผมจะพยายามแปลคำว่า “บริบท” หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า context ให้คุณได้ทราบก่อน
.
.
บริบทคือ สภาพแวดล้อม
(นี่ดูจะเป็นคำแปลที่ถูกต้องแต่มันกว้างมากไปหน่อย)
บริบทคือ ข้อความแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
บริบทคือ บทบรรยายที่แวดล้อมภาษาจนกระทั่งมันช่วยกำหนดความหมายของสถานการณ์หนึ่งๆ
ถึงตรงนี้ ผมคิดว่าคุณคงได้ไอเดียพอสมควรว่าบริบทคืออะไร
ผมขอนำความเชื่อที่สำคัญของ NLP มากล่าวอีกครั้งที่ว่า
ความหมายทั้งหลายจะขึ้นกับบริบท
.
.
ยกตัวอย่างเช่น
.
.
ขอสมมติว่าคุณตื่นสายและทำให้คุณไปขึ้นเครื่องบินไม่ทัน
และคุณได้สูญเสียโอกาสการไปเที่ยวญี่ปุ่น?
วันที่คุณโหยหามานานว่าจะไป ในตอนนั้น
คุณอาจให้ความหมายกับเหตุการณ์นี้ว่า

“จบกัน พัง พัง ทำไมจึง ซ.ว.ย. (ซวย) อย่างนี้วะ นี่มันนรกชัดๆ”

คุณรู้สึกโมโหตัวเองและผิดหวังมาก
เกิดภาวะอารมณ์เน่าไปเต็มๆ ทั้งวัน
ครั้นพอถึงวันถัดมา สมมติหนังสือพิมพ์ พาดหัวข่าวครึกโครมว่า
เครื่องบินเที่ยวนั้นโหม่งโลก
ผู้โดยสารตายเรียบ พอเปิดทีวี
พบแต่การรายงานข่าวเรื่องเครื่องบินตกกันทุกช่อง
ในทันใด การพลาดเครื่องบินของคุณ
ได้กลายเป็นการรักษาชีวิตของคุณไว้และคุณก็ขนลุกซู่
ลูบไล้ตัวคุณเองแล้วบอกกับตัวเองว่า

“โอ สวรรค์ ทำไมฉันจึงโชคดีถึงขนาดนี้วะแม่ง
โครตเหลือเชื่อเลยย นี่ฉันทำบุญมาดี บุญรักษาฉันแท้ๆ"

และบางที คุณอาจร่ายยาวไปได้เรื่อยๆ ว่า
คุณโชคดีกว่าทุกความโชคดีที่คุณเคยเจอมา
เห็นไหมครับ ความหมายได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง
.
.
ขอยกตัวอย่างอีกเรื่อง ถ้าคุณต้องกินน้ำลาย
แล้วคุณจะตีความหรือให้ความหมายมันในทางลบหรือไม่
คำตอบของคำถามข้อนี้ต้องดูที่บริบท
เช่น ถ้าคุณกินน้ำลายที่อยู่ในปากของคุณเอง
คุณจะรู้สึกว่ามันรสชาติดี ไม่มีปัญหาอะไร
การตีความของคุณจะไม่มีความหมายในเชิงลบ
แต่ถ้าคุณบ้วนน้ำลายของตัวเองไปใส่ในถ้วยสักครึ่งแก้ว
มันก็ยังเป็นน้ำลายของคุณอยู่ดี
แล้วให้คุณกินน้ำลายของคุณจากถ้วยแก้วนั้น
คราวนี้ คุณอาจให้ความหมายว่า
.
.
“โอ มันดูสกปรก น่าสะอิดสะเอียน
มันให้ความรู้สึกที่แย่และรสชาติมันก็พะอืดพะอมมาก”
.
.
ความจริงก็คือ มันไม่ได้สกปรก รสชาติของมันไม่ได้เปลี่ยน
แต่ว่ามันเปลี่ยนที่อยู่ คือจากที่เคยอยู่ในปากของคุณ
ไปอยู่ในถ้วยแก้ว นี่แหละคือสิ่งที่ #NLP บอกว่า
ให้ดูที่บริบท เพราะความหมายหรือการตีความจะขึ้นกับบริบท
.
.
เท่าที่ผมอธิบายมานี้
.
.
ผมต้องการจะพาคุณไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า
------------------------
“การเปลี่ยนกรอบ”
------------------------

คุณจะเชื่อไหมว่าถ้าคุณเอารูปของคุณที่เหมือนกันเป๊ะ
สัก 10 ใบไปใส่กรอบที่แตกต่างกัน 10 กรอบ
มันจะให้ความรู้สึกที่ไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน
และส่งผลให้คุณตีความหรือแปลความหมายแตกต่างออกไปด้วย
.
.
ฉะนั้นถ้าคุณมีรูปภาพอะไรก็ตามที่ใส่กรอบอย่างหนึ่งไว้แล้ว
และไม่ว่ามันได้สร้างความหมายเช่นไรไว้กับคุณก็ตาม
ถ้าคุณเปลี่ยนกรอบให้กับรูปภาพนั้น
มันจะส่งผลถึงความรู้สึกของความหมายที่จะเปลี่ยนแปลง
ตามไปด้วย นี่เองที่ #NLP จึงแนะว่า “#จงเปลี่ยนกรอบ
.
.
นี่ทำให้ผมนึกถึงอีกเรื่องหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน
สมมติถ้าคุณมีต้นไม้ต้นหนึ่งปลูกไว้ในกระถางอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าคุณจะเคยรู้สึกยังไงหรือให้ความหมายเดิมกับมันไว้ว่ายังไง

.
.
ถ้าคุณเปลี่ยนกระถางให้มันละก็
มันจะเปลี่ยนความรู้สึกในเชิงความหมายให้กับคุณ
คุณจะไม่ตีความกับมันที่เหมือนเดิมเป๊ะได้อีกต่อไป
หรือถ้าคุณเอาดอกกุหลาบราคา 100 บาท
ไปใส่ไว้ในแจกันราคา 200 บาท
แล้วคุณเปลี่ยนมันไปใส่ในแจกันราคา 100,000 บาท
แม้ว่ามันจะคือดอกกุหลาบเดิม
แต่มันจะส่งผลต่อความรู้สึกเชิงความหมายที่เปลี่ยนไป

.
.
เช่น กุหลายดูสวยขึ้น หรือกุหลายนั่นดูมีราคาแพงขึ้น
ในทางตรงข้ามถ้าคุณเอาดอกกล้วยไม้ราคาเป็นหมื่นบาท
ไปปักในแจกันแตกๆ ห่วยๆ
มันอาจสร้างความรู้สึกเชิงความหมายว่า
“ช่างเป็นกล้วยไม้ที่ไร้ค่าเสียจริง” ก็ได้
.
.
นี่มันเรื่องในทำนองเดียกันทั้งนั้นแหละ แต่ว่าคุณเป็นมนุษย์
คุณจึงต้องเปลี่ยนกรอบไม่ใช่เปลี่ยนกระถางหรือเปลี่ยนแจกัน
กลับไปที่เรื่องของ การเปลี่ยนกรอบ (Change the Frame)
มันคือไอเดียที่ว่า ...

เมื่อคุณได้เปลี่ยนกรอบให้กับภาพใดๆ แล้ว
(ซึ่งในที่สุดแล้ว เรามุ่งเน้นให้คุณไปเปลี่ยนกรอบ
ของภาพในใจมากกว่าให้คุณไปเปลี่ยนกรอบรูป
ที่ติดอยู่ในบ้านของคุณ)
.
.
พอคุณมองภาพผ่านกรอบที่เล็กลง หรือกรอบที่ใหญ่ขึ้น
หรือกรอบที่สีเปลี่ยนไป ฯลฯ คุณจะเห็นมันต่างออกไป กรอบที่คุณใส่ให้กับภาพหรือสิ่งใดๆ มันจะเปลี่ยนความรู้สึกในเชิงความหมายที่คุณมีต่อมัน NLP จะพูดสั้นๆ ว่า
----------------------------------------------------------------------
“กรอบที่คุณใส่ให้กับสิ่งใดๆ จะเปลี่ยนความหมายของพวกมัน”
----------------------------------------------------------------------
นี่เป็นประโยคทองที่มีค่าและสำคัญยิ่ง
ผมอยากให้คุณท่องและจดจำมันไว้ให้ขึ้นใจ
การที่มันเป็นอย่างนั้นได้เป็นเพราะว่ามันได้เปลี่ยนแง่มุม
ที่คุณจะให้ความสนใจ #NLP ถือว่า
----------------------------------------------------------------------
“ไม่มีสิ่งใดมีความหมายในตัวมันเองหรือของตัวมันเอง”
----------------------------------------------------------------------
นี่มันเป็นสัจจะที่ล้ำลึกมากเพราะว่าคุณหรือคนเรานี่แหละ
ที่เป็นคนให้ความหมาย เช่น
พระจันทร์ไม่มีความหมายในตัวมันเองหรือของตัวมันเอง...
จนกระทั่งคุณไปพูดว่า

“โอ ค่ำคืนนี้ พระจันทร์ช่างงดงามเหลือเกิน”

และแน่นอนว่าพระจันทร์ไม่รู้เรื่องกับคุณ
แต่คุณนั้นแหละที่เป็นคนไปตีความหรือให้ความหมาย
ในบางคืน คุณอาจบอกกับตัวเองว่า
“โอค่ำคืนนี้ พระจันทร์ช่างอัปลักษณ์จริงๆ” และนี่ก็เช่นกัน
พระจันทร์ไม่รู้เรื่องด้วยเลย
และคุณนั่นเองที่ไปรู้สึกถึงความหมายนั้น
คุณนั่นเองที่ให้ความหมายกับมัน
และเพื่อให้ตลก ถ้าในคืนวันเดียวกัน
ผมก็มองไปที่พระจันทร์ดวงเดียวกับคุณ
ผมรู้สึกว่ามันออกจะมีนสีแดงมากเกินไป
นี่ไม่น่าจะใช่สีของพระจันทร์เลย ผมจึงรำพึงว่า
“พระจันทร์คืนนี้ช่างกระหายเลือดเสียจริง”

.
.
และแน่นอนว่าพระจันทร์ไม่เคยกระหายเลือด
ผมไปให้ความหมายกับมันเองนี่นำไปสู่บทสรุปหนึ่งที่น่าสนใจ
------------------------------------------------------------
“สถานกาณ์ไม่มีทางเป็นลบอย่างสิ้นเชิงได้หรอก”
-----------------------------------------------------------

เพราะอะไรเล่า? มันเป็นเรื่องเดียวกัน
สถานการณ์ไม่มีความหมายของตัวมันเองหรือในตัวมันเอง
มันขึ้นกับมนุษย์แต่ละคนที่ไปให้ความหมายกับตัวสถานการณ์
และบางที คน 100 คนก็ให้ความหมายกับสถานการณ์เดียวกัน
ไม่ตรงกัน ไม่เหมือนกัน มันเป็นเรื่องที่ขึ้นกับตัวบุคคลเป็นสำคัญ
มันเป็นเรื่องของนานาจิตตัง
.
.
ฉะนั้น กับสถานการณ์ใดๆ ของคุณ
คุณอาจให้ความหมายในเชิงลบกับมัน
แต่ถ้าคุณเลือกที่จะมองมันให้ต่างออกไปละก็
คุณจะสามารถเลือกได้ความหมายใหม่ๆ กับมันได้
อารมณ์ความรู้สึกในเชิงลบต่อเหตุการณ์หนึ่งใดนั้น
ไม่ได้มีต้นเหตุมาจากตัวเหตุการณ์เอง
แต่มาจากวิธีที่คุณตอบสนองต่อมันโดยการเปลี่ยนกรอบ
(ให้กับตัวเหตุการณ์) แล้วคุณจะสามารถสร้างอารมณ์ในเชิงบวก
และสร้างทางเลือกใหม่ให้กับคุณได้
“ความหมายจะขึ้นกับบริบท”
.
.
ฉะนั้น ถ้าคุณไม่ชอบความหมายของบางสิ่งบางอย่างละก็
จงเปลี่ยนกรอบใหม่ให้กับมันเสีย
พูดอีกแบบก็คือ
เมื่อคุณไม่ชอบความหมายเดิมที่คุณเป็นคนให้ไว้
ก็จงเป็นผู้ให้ความหมายมันอีกครั้งด้วยความหมายใหม่
ที่คุณจะชอบเสียเถอะ

ต่อไปนี้ ถ้าคุณจับได้ว่าคุณบ่นอะไรที่เกี่ยวกับตัวคุณ
หรือคนอื่นๆ เช่น “ฉันมันใจร้อนเกินไป และ
“เธอมันใจเย็นเกินไป” หรืออะไรก็ตาม
งั้นจงเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า
ไอ้การที่คุณมันใจร้อนเกินไปนั้นมันแย่ในบริบทใด
หรือสิ่งแวดล้อมใดบ้าง ส่วนไอ้การที่เธอมันใจเย็นเกินไป
.....มันแย่ในบริบทไหนและมันเป็นประโยชน์ในบริบทใด
หรือสิ่งแวดล้อมใด

แล้วคุณจะเก่งในการให้ความหมายในแบบที่คุณชอบมากขึ้น
.
.
ด้วยรัก,
อาจารย์ วันชัย ประชาเรืองวิทย์
The Best NLP Trainer of Thailand

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.